ชมรมพยาบาลจิตเวชและยาเสพติด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

โทร : 081-885-7830

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของกรบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุขต่อการลดภาวะซึมเศร้าในสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ไต้ พื้นที่อำภอหนองจิกจังหวัดปัตตานีจำนวน 15 คน โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลอง (one-group, pretest- posttest design) ด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม (90) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบทีคู่ (Paired t-test) ผลการวิจัย พบว่า การบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุขต่อการลดภาวะซึมเศร้าในสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ใต้ พื้นที่อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี สามารถสรุปเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1.ร้อยละ 100 ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง สถานภาพหมาย ร้อยละ 86.7 อายุอยู่ในช่วง 46-59 ปี (M-50.20, SD-5.02) ร้อยละ 46.7 กลุ่มตัวอย่างจบระดับการศึกษาม้ธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 60.0 อาชีพลูกจ้างในหน่วยงานรัฐ ร้อยละ 60.0 มีรายได้ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 53.3 รายได้ไม่เพียงพอ และร้อยละ 73.3 ไม่มีโรคประจำตัว 2. ผลการบำบัด HRT สามารถลดภาวะซึมเศร้ในสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ไต้ อย่งมีนัยสำคัญหาสถิติที่ระดับ ..05 โดยคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมการบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข (=3.489) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุขสามารถลดภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่าง และสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้บำบัดลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป